อัพเดตแล้ว กฎหมายทวงหนี้ 2564 ทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย
อัพเดตแล้ว กฎหมายทวงหนี้ 2564 ทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย
เรื่องที่ควรอยู่สำหรับเจ้าหนี้ – ลูกหนี้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด และไม่สามารถตกลงผ่อนกันไม่ได้ จึงมักจะสร้างปัญหาให้กับใครหลาย ๆ คน จนจะเกิดการทวงหนี้ตามมานั้นเอง ซึ่งกฎระเบียบและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการทวงหนี้นั้นถูกกำหนดไว้ในกฎหมายทวงหนี้ ถือเป็นเรื่องที่ทั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ควรที่จะรู้ไว้
กฎหมายทวงหนี้ใหม่ 2564 (อัปเดตล่าสุด) ต้องทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
การทวงหนี้ ไม่ได้หมายถึงการทวงหนี้ระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ เช่น หนี้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ เงินกู้ ฯลฯ แม้กระทั่งการพนันก็ถือว่าเป็นหนี้รูปแบบหนึ่ง บ่อยครั้งที่เรามักเห็นข่าวการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่น และผู้อื่นจะมาทวงหนี้เรา จริงๆ แล้วจำเป็นต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย โดยมีรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ ดังนี้
“ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
“ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้เป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และ ให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย
“ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือ บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด
“สินเชื่อ” หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
“ธุรกิจทวงถามหนี้” หมายความว่า การรับจ้างทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทำแทนลูกความของตน บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
หมายเหตุ : ผู้ทวงถามหนี้ หรือเจ้าหนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นตัวแทนของนิติบุคคล ในนามของบริษัทสินเชื่อ, ประกัน, ธนาคาร และอื่น ๆ ได้
“ยืมเงินผ่านแชท ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้” การทักขอยืมเงินผ่านแชท หรือแชทไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
“ยืมเงินจำนวนเท่าไร จึงจะต้องทำหนังสือกู้ยืมเงิน” ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป สามารถทำหนังสือสัญญากู้ยืมได้ โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งหากผิดสัญญาชำระหนี้ ก็สามารถนำไปฟ้องร้องได้
- ทวงนี้อย่างไร? ให้ถือเป็นการทวงหนี้
“ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว”
– หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท ลูกหนี้เปิดอ่านข้อความ แต่ไม่ตอบ
– หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกนี้ แล้วลูกนี้รับสาย แล้วมีการสนทนากันเรื่องการทวงหนี้
“ไม่ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว”
– หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการสนทนากัน
– หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แล้วลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้
– หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน
- ขอบเขตของการทวงหนี้ ควรทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
“ความถี่ทวงถามหนี้”
กฎหมายทวงหนี้ใหม่กำหนดให้เจ้าหนี้ สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง แต่ในกรณีที่เพื่อนยืมเงินเพื่อน ทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ถือว่าไม่ผิด
“วันเวลาทวงถามหนี้”
– วันจันทร์ – ศุกร์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00 – 20.00 น.
– วันเสาร์ – อาทิตย์, วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00 – 18.00 น.
- การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?
ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ดังนั้น เจ้าหนี้จะต้องทวงถามหนี้กับลูกหนี้อย่างสุภาพ ให้เกียรติ ละเว้นการประจานดูหมิ่นให้ลูกหนี้เกิดความเสื่อมเสียและอับอาย เพื่อปกป้องสิทธิของลูกหนี้ กฎหมายจึงกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ ในเรื่องการทวงหนี้ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่
3.1 ห้ามทวงถามหนี้กับคนอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ เว้นแต่บุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้
3.2 ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากกฎหมายไม่ให้ประจานลูกหนี้ หรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง โดยบอกคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้นเป็นคนในครอบครัวลูกหนี้ เช่น สามี ภริยา บุพการี
3.3 ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมาย หนังสือหรือสื่อใด ๆ ให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่า ติดต่อเพื่อทวงหนี้
3.4 ห้ามติดต่อ แสดงตนทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้
3.5 ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น ถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย
3.6 ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น
3.7 ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศ
- หากผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ
4.1 การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ
4.2 การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทางถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความ สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย
- หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?
ลูกหนี้หรือประชาชนสามารถร้องเรียนได้ที่ “คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้” ที่มีตั้งแต่ระดับประเทศ และระดับจังหวัด หรือ “ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ” ในท้องที่ เพื่อแจ้งการกระทำความผิดได้ โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 คุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. นี้ ถ้าเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จ หรือผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็น จะได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย สุดท้ายนี้ บริษัท ซิตี้ คอลเลคชั่น จำกัด (City Collection Co.,Ltd.) พร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง ซึ่งเรื่องเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราควรรู้ไว้
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย, กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานกิจการยุติธรรม